วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556


สรุปงานวิจัย

เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้


ปริญญานิพนธ์

ของ

คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว



ความมุ่งหมายของการวิจัย

เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการ

จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของ

ศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่ง

ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัด

ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความ

หลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น

ขอบเขตการวิจัย

      ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
             
               ประชากรวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษา

อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ

กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน

กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี

ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาล

ละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา

1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้าง

ขึ้นโดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น

กลุ่มทดลอง

ระยะเวลาในการทดลอง

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งจัดกระทำในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ใช้เวลา

ในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
2.1. การบอกตำแหนง
2.2. การจำแนก
2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30
2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 –20
2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 – 10

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ทีกำลังศึกษาอยู่ในชั้น

อนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ

กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิต

ศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

3. ศิลปะ หมายถึง กิจกรรมของการแสดงออกของความรู้ ความคิด และจินตนาการผ่านผลงาน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากประสบการณ์ของแต่ละคนจากการเรียนรู้ และมีอิสระในการ

แสดงออกทางผลงาน ทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ดียิ่งขึ้น

4. รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หมายถึง กิจกรรมศิลปะที่เด็กนำสาระหรือสิ่งที่เรียนรู้มา

แสดงออกด้วยการใช้ศิลปะเป็นสื่อเพื่อสร้างให้เกิดความจำ ความเข้าใจ และมีความสุขกับการเรียน

รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

5. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หมายถึง การปฏิบัติการสอนของครูที่ใช้รูปแบบศิลปะ

สร้างสรรค์

ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

ศาสตร์อื่นๆ การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่าง

มีเหตุมีผลและใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มี

ความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกำลัง

ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละออ

อุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้อง

เรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น

กลุ่มทดลอง

การสร้างแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ในการวิจัยครั้งนี้ แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้าง

ขึ้นเป็นแบบทดสอบให้เด็กได้ลงมือกระทำจริงอุปกรณ์ในการทดสอบ ซึ่งมีขั้นตอนในการสร้าง

แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ชุดที่ 1 การบอกตำแหน่ง จำนวน 5 ข้อ
ชุดที่ 2 การจำแนก จำนวน 5 ข้อ
ชุดที่ 3 การนับปากเปล่า 1 – 30 จำนวน 5 ข้อ
ชุดที่ 4 การรู้ค่ารู้จำนวน จำนวน 5 ข้อ
ชุดที่ 5 การเพิ่ม – การลด 1 –.10 จำนวน 5 ข้อ


กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

0 คะแนน หมายถึง เด็กตอบผิดหรือไม่ได้ตอบ ทำเครื่องหมาย

ผิด หรือตอบมากกว่า 1 คำตอบ

1 คะแนน หมายถึง เด็กตอบได้ถูกต้อง

สรุปอภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูและ

ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความ

เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86

สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง

คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการ

จำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน

1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่า

เฉลี่ยสูงขึ้น

2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง

คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย

1. ควรมีการศึกษาการนำกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบอื่นมา

จัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ฯลฯ ที่แตกต่าง

กันไปตามรูปแบบการเรียนรู้ เช่น ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบ

ศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา เพื่อศึกษาความแตกต่าง

2. ควรมีการนำรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิด

สร้างสรรค์ของเด็กหญิงและเด็กชาย เพื่อหาความแตกต่างในการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะแบบ

เดียวกัน

3. ควรมีการศึกษาความแตกต่างในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ระหว่างสื่อของจริง

และสื่อจำลอง และเปรียบเทียบความภูมิใจของเด็กในตนเองของเด็กปฐมวัยในการทำศิลปะ

เพื่อการเรียนรู้

4. ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แต่ละรูปแบบว่าแบบใด

พัฒนาทักษะได้มากกว่ากัน

5. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แบบกลุ่มและราย

บุคคลว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร











วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การเข้าเรียนครั้งที่ 16



- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษา

- อาจารย์พูดถึงสื่อการสอนคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเกษมพิทยา เพื่อเป็นแนวทางการ

นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในอนาคต










- วันนี้เพื่อน ๆ สาธิตการสอนทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ หน่วยข้าว และ หน่วยสับปะรด โดยนำเอา

ข้อพิดพลาดจาก 2 กลุ่ม ที่แล้วมาปรับใช้และคำแนะนำของอาจารย์ จึงสาธิตการสอนไป

ได้อย่างไม่ค่อยมีข้อบกพร่อง


ภาพกิจกรรมหน่วยข้าว






ภาพกิจกรรมหน่วยสับปะรด








- ส่วนกลุ่มที่ยังไม่ได้สาธิตการสอนในวันนี้ให้นำรูปภาพ แผนการสอน และอุปกรณ์ต่าง ๆ 

มาใส่ลงในบล็อกอย่างครบถ้วน และอาจารย์จะเข้ามาตรวจและสอบถามในภายหลัง

- อาจารย์ให้นักศึกษาไปอ่านหนังสือเรื่อง มาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นใน

การสอบปลายภาค

- อาจารย์นัดนักศึกษาทุกคนมาสอบในวันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ในเวลา 15.00 น.

และให้มาพบอาจารย์ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์ก่อนเวลาสอบ

- อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำบล็อกให้เสร็จและสมบูรณ์ เพราะ อาจารย์จะเข้ามาสอบหลังจาก

ที่นักศึกษาสอบเสร็จ







การเข้าเรียนครั้งที่ 15


- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษา

- วันนี้อาจารย์จะให้นักศึกษาสาธิตในการสอนประมาณ 2-3 วัน โดนกลุ่มฉันเป็นกลุ่มแรก

ที่ออกไปทำการสาธิต คือ หน่วยไข่

- กลุ่มดิฉันออกไปสาธิตแต่เตรียมการสาธิตมาเพียง 1 วัน เพราะ เกิดความเข้าใจผิด กลุ่ม

ดิฉันจึงขอสาธิตในสัปดาห์ต่อไป

- กลุ่มต่อไปได้ออกมาสาธิตเรื่องหน่วยผลไม้ เพื่อนเตรียมการสาธิตมาทั้งหมด 5 วัน

แต่อาจารย์ให้สาธิตประมาณ 4 วัน เท่านั้นเอง เพราะ การสาธิตต้องใช้เวลา จึงกลัวจะ

นำเสนอไม่ครบทุกกลุ่ม

- เมื่อกลุ่มผลไม้สาธิตเสร็จ อาจารย์ก็ให้กลุ่มดิฉันออกไปสาธิตอีกรอบ โดยให้ออกไปนำเสนอ

รูปแบบวิธีสอนเท่านั้น เพราะ เห็นว่ากลุ่มดิฉันเตรียมงานมาแล้ว จึงไม่อยากให้เสียเวลา

- กลุ่มดิฉันนำเสนอไปแค่ 4 วัน อาจารย์จึงบอกเพื่อน ๆ ในห้องว่า ให้กลุ่มที่เหลือนำเสนอใน

สัปดาห์ต่อไป และไม่ควรมีข้อผิดพลาด เพราะ ทั้ง 2 กลุ่ม ได้เป็นครูให้กับกลุ่มที่ยังไม่ได้

นำเสนอไปแล้ว

- วันนี้ได้สาธิตการสอนไปแค่ 2 กลุ่มเท่านั้นเอง เพราะ มีข้อผิดพลาดหลายประการ และอาจารย์

ก็ได้ให้คำแนะนำ เพื่อที่จะได้ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้สาธิตทำออกมาได้สมบูรณ์แบบ


ภาพกิจกรรมหน่วยไข่




















ภาพกิจกรรมหน่วยผลไม้







- หลังจากที่ได้สาธิตการสอนไปทั้ง 2 กลุ่มแล้ว อาจารย์ก็ความรู้และคำแนะนำ ไปปรับปรุงแก้ไข

เพื่อให้นักศึกษาได้ผลงานที่ดีมากยิ่งขึ้น

การเข้าเรียนครั้งที่ 14


วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2556

เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.

ไม่มีการเรียน การสอน เนื่องจาก อาจารย์ติธุระ 

                                  สื่อการสอนคณิตศาสตร์




เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์


              การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ อันเป็น

พื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก  ได้แก่  จำนวนและ

การดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม  การวัด  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร เงิน  และเวลา 

เรขาคณิต ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง  รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ  พีชคณิต  แบบรูปและความสัมพันธ์ 

การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

การแก้ปัญหา การให้เหตุผล  การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ

 ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์


การเข้าเรียนครั้งที่ 13



- อาจารย์ให้เอางานมาส่งซึงเป็นงานที่เอาไปเเก้ไขตั้งเเต่อาทิตย์ที่เเล้ว บางกลุ่มก็เปลี่ยนเป็นเรื่องอื่น

- อาจารย์เเละนักศึกษาร่วมกันเเตกแมพในเรื่องของ มาตรฐานคณิตศาสตร์

- อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสาธิตการสอน  จากเรื่องที่เราทำมา เเต่นักศึกษาบอกว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์

ยังให้ไปเเก้ไขงานก่อน แต่อยาพึ่งมาสาธิตการสอน ดังนั้น อาจารย์ก็บอกว่างั้นเราก็ไปเตรียมการสอนมาก่อน 

สัปดาห์หน้าอาจารย์ติดธุระมีเวลาไปซ้อมมา เเล้วมาสาธฺตวันที่เราเจอกัน

- อาจารย์ได้ทำตารางเเสดงข้อมูลเรื่องไข่

- อาจารย์เเละนักศึกษาได้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลที่ได้มาจากตารางเป็นเเผนภูมิวงกลม


วิธีสร้างแผนภูมิวงกลม




เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงจุดข้อมูลในแผนภูมิวงกลม


                 แผนภูมิวงกลมจะแสดงขนาดของรายการใน ชุดข้อมูล หนึ่งชุดตามสัดส่วนของผลรวมรายการ 

จุดข้อมูลในแผนภูมิวงกลมจะปรากฏเป็นเปอร์เซ็นต์ของวงกลมทั้งหมด เนื่องจากคุณสามารถลงจุดข้อมูล 

ได้เพียงหนึ่งชุดข้อมูลเท่านั้นในแผนภูมิวงกลม ข้อมูลของแผ่นงานจึงควรจัดเรียงเป็นหนึ่งคอลัมน์หรือหนึ่งแถว 

นอกจากนี้ คุณยังสามารถรวมคอลัมน์หรือแถวของชื่อประเภทได้ ตราบเท่าที่คอลัมน์หรือแถวนั้นเป็นคอลัมน์

หรือแถวแรกในสิ่งที่คุณเลือก ประเภทต่างๆ จะปรากฏเป็นคำอธิบายแผนภูมิวงกลม




วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การเข้าเรียนครั้งที่ 12


- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษา

- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเอางานออกไปส่ง

- อาจารย์ให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงในชิ้นงานของแต่ละกลุ่ม เพราะ ยังทำงานส่งไม่ค่อย

สมบูรณ์เท่าที่ควร

- อาจารย์บอกว่ากลุ่มของเราเป็นแมฟที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ก็ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด  จึงต้องนำกับ

ไปแก้ไขในบางส่วน

- อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำแมฟไปแก้ไข  และอาจเตรียมแผนการสอนทั้ง 5 วัน มาให้อาจารย์

ดูคราว ๆ ได้










การเข้าเรียนครั้งที่ 11


- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษา

- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์

- กลุ่มดิฉันออกไปนำเสนอเป็นแรก  สอนในเรื่องเลขฐานหน่วย สิบ ร้อย

- กลุ่มที่สองจะสอนในเรื่องการนับวันในเดือนนั้น ๆ เป็นการนับวันแบบนามธรรม

- กลุ่มที่สามจะสอนในเรื่องการเปรียบเทียบ




- เมื่ออาจารย์ตรวจงานของทุกกลุ่มเสร็จก็ให้นำงานกับไปแก้ในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่และ

ก็ปล่อยนักศึกษากลับบ้าน