วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 7


- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษา

- อาจารย์พูดถึงเรื่่องมาตราฐานคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย เกณฑ์ คุณภาพ ตัวชี้วัด

และการยอมรับ เป็นต้น

ความหมายของ สสวท.

           สสวท. คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.มีหน้าที่หลัก คือ ทำให้

การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของนักเรียนไทยได้มาตรฐาน ให้ครูสามารถ

สอนนักเรียนให้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่สอนได้ รับผิดชอบระบบการศึกษาทุกระดับครอบคลุมทั่วประเทศ 

พร้อมทั้งยังสามารถเรียนรู้ผ่านการออนไลน์ โดยมีห้องสมุดออนไลน์ มีความรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน

             กรอบของคณิตศาสตร์  สสวท ได้จัดให้มีการเปิดตัวกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ปฐมวัยในทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับว่า การเรียนรู้ในช่วงชีวิต  0-6 ขวบ นั้นจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง 

มนุษย์แต่ละคนจะโตขึ้นเป็นคนอย่างไรขึ้นอยู่กับช่วงวัยนี้ เพราะเซลล์สมองจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราจึง

ให้ความสำคัญต่อเด็กในวัยนี้  “ คุณภาพของครูเป็นเรื่องที่สำคัญ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู  ต้องมี

โอกาสก้าวหน้า และมีแรงจูงใจให้แก่ครู  หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลง คือ 70-30  เปอร์เซ็นต์ระหว่างเล่นและเรียน 

 เด็กปฐมวัยต้องเน้นที่การเล่นมากกว่า ที่สำคัญการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวง ศึกษาธิการอย่างเดียว 

แต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้ปกครอง และทุกส่วนในสังคม 


-  อาจารย์ได้พูดถึงพัฒนาการและการประเมินเพื่อให้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้สอดคล้องได้อย่างไร

-  พอสอนได้สักพักมีโทรศัพท์เข้า อาจารย์มีประชุมด่วนจึงทำให้ต้องยกเลิกการสอน โดยอาจารย์ได้ให้การบ้าน

ไว้และอธิบายให้เข้าใจอย่างละเอียด

-  การบ้านคือ ให้ไปตัดกระดาษขนาด 2 4 6 (3 ขนาด เพื่อทำการทำกิจกรรมในคาบต่อไป) ซึ่งตอนนี้ได้ยกเลิก

แล้ว เพราะ อาจารย์ให้ทำงานอันเก่า(วาดรูปสื่อ) ให้เสร็จก่อนโดยส่งทางเมล์ให้อาจารย์เพื่อความสะดวก 

และประหยัดเวลา







วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 6


- อาจารย์เช็คชื่อและให้นักศึกษาส่งงาน

- อาจารย์ให้จับกลุ่มละ 11 คน และให้นักศึกษานำกล่องที่เตรียมมาต่อเป็นรูปอะไรก็ได้

และอาจารย์ก็แจกกาวสองหน้า โดยกลุ่มที่ 1 สารถหาลือพูดคุยกันได้และช่วยกันต่อ

หรือแก้ไขชิ้นงาน กลุ่มที่ 2 ห้ามพูดคุยกันขนาดทำกิจกรรม กลุ่มที่ 3 พูดคุยกันได้แต่ต้อง

นำกล่องมาต่อที่ละคน

- กลุ่มที่ 1 ต่อเป็นรูปหุ่นยนต์

- กลุ่มที่ 2 ต่อเป็นรูปบ้าน

- กลุ่มที่ 3 ต่อเป็นรูปชานชลารถไฟ

- อาจารย์ให้ช่วยกันคิดอุปกรณ์ที่สามารถนำมาทำสื่อคณิตศาสตร์ได้

1.เปลือกหอย

2.กล่อง

3กล่องนม

4.กระดาษ

5.ไม้ไอศกรีม

6.ขวด

7.กระดุม

8.ปฏิทิน

9.ถ้วยปีโป้

10.ฝาขวด ( อุปกรณ์ที่ถูกเลือก )

11.ไม้เสีบยลูกชิ้น

12.เปลือกลูกอม

- เพื่อน ๆ ช่วยกันสรุปจนตกลงว่าจะนำฝาขวดมาทำสื่อการสอน


ตัวอย่างสื่อการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ฝาขวดน้ำของกลุ่มที่่ 1




- อาจารย์ให้แพลนงานมาให้ดูก่อนแล้วค่อยลงมือทำในห้องเรียนกับสมาชิกกลุ่ม

- อาจารย์ตรวจเครื่องแต่งกายนักศึกษาและเลิกเรียน


ภาพการทำกิจกรรมในห้องเรียน





กลุ่มเราตั้งใจทำหุ่นยนต์กันอย่างตั้งหน้าตั้งตา




เริ่มเป็นรูปเป็นร่างซะทีนะหุ่นยนต์




สำเร็จแล้วหุ่นยนต์ของเรา




ถ่ายรูปกับความสำเร็จสักหน่อย




บรรยากาศการทำกิจกรรมของกลุ่ม 2




บรรยาการการทำกิจกรรมของกลุ่ม 3



เมื่่อทุกกลุ่มทำเสร็จอาจารย์ก็เริ่มบอกถึงการให้ทำกิจกรรมในครั้งนี้


การเข้าเรียนครั้งที่ 5


- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษาที่มาเรียนตรงต่อเวลา

- อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมวันพ่อโดยให้นักศึกษานำเสื้อเหลืองมาเต้นแอโรบิค

ในวันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2555

- อาจารย์อธิบายขอบขายคณิตศาสตร์ของ อาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ


1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย

 เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น

2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว

 กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม

3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ 

อยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง 

หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า

 รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาว

ไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยัง

ต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า 

ความลึกตื้นกว้างและแคบ

8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการ

ประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน

9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า

ถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็ก

ประจำชั้น เป็นต้น

10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดย

เน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอด

เกี่ยวกับครึ่งหรือ ?

11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนก

ด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์

12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง 

โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคง

ที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม


- ขอบข่ายคณิตศาสตร์ของ อาจารย์เยาวภา เดชะคุปต์

1.การจัดกลุ่มหรือเซต

2.จำนวน

3.ระบบจำนวน

4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ

5.คุณสมบัติจากคณิตศาสตร์จากการจัดรวมกลุ่ม

6.ลำดับที่สำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์

7.การวัด

8.รูปทรงเรขาคณิต

9.สถิติและกราฟ

- อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน โดยนำขอบข่ายคณิตศาสตร์ของอาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ

ทั้ง 12 ข้อ มาทำกิจกรรมโดยให้เราคิดหน่วยเรียนขึ้นเอง

- อาจารย์ให้นำกล่องกระดาษมาในวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2555

- อาจารย์ตรวจเครื่องแบบนักศึกษาและเลิกเรียน