วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556


สรุปงานวิจัย

เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้


ปริญญานิพนธ์

ของ

คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว



ความมุ่งหมายของการวิจัย

เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการ

จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของ

ศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่ง

ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัด

ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความ

หลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น

ขอบเขตการวิจัย

      ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
             
               ประชากรวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษา

อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ

กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน

กลุ่มตัวอย่างการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี

ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาล

ละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา

1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้าง

ขึ้นโดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น

กลุ่มทดลอง

ระยะเวลาในการทดลอง

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งจัดกระทำในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ใช้เวลา

ในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
2.1. การบอกตำแหนง
2.2. การจำแนก
2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30
2.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 –20
2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 – 10

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ทีกำลังศึกษาอยู่ในชั้น

อนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ

กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิต

ศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

3. ศิลปะ หมายถึง กิจกรรมของการแสดงออกของความรู้ ความคิด และจินตนาการผ่านผลงาน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากประสบการณ์ของแต่ละคนจากการเรียนรู้ และมีอิสระในการ

แสดงออกทางผลงาน ทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ดียิ่งขึ้น

4. รูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้หมายถึง กิจกรรมศิลปะที่เด็กนำสาระหรือสิ่งที่เรียนรู้มา

แสดงออกด้วยการใช้ศิลปะเป็นสื่อเพื่อสร้างให้เกิดความจำ ความเข้าใจ และมีความสุขกับการเรียน

รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

5. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ หมายถึง การปฏิบัติการสอนของครูที่ใช้รูปแบบศิลปะ

สร้างสรรค์

ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

ศาสตร์อื่นๆ การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่าง

มีเหตุมีผลและใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่มี

ความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกำลัง

ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละออ

อุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้อง

เรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น

กลุ่มทดลอง

การสร้างแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ในการวิจัยครั้งนี้ แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้าง

ขึ้นเป็นแบบทดสอบให้เด็กได้ลงมือกระทำจริงอุปกรณ์ในการทดสอบ ซึ่งมีขั้นตอนในการสร้าง

แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ชุดที่ 1 การบอกตำแหน่ง จำนวน 5 ข้อ
ชุดที่ 2 การจำแนก จำนวน 5 ข้อ
ชุดที่ 3 การนับปากเปล่า 1 – 30 จำนวน 5 ข้อ
ชุดที่ 4 การรู้ค่ารู้จำนวน จำนวน 5 ข้อ
ชุดที่ 5 การเพิ่ม – การลด 1 –.10 จำนวน 5 ข้อ


กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

0 คะแนน หมายถึง เด็กตอบผิดหรือไม่ได้ตอบ ทำเครื่องหมาย

ผิด หรือตอบมากกว่า 1 คำตอบ

1 คะแนน หมายถึง เด็กตอบได้ถูกต้อง

สรุปอภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ

ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูและ

ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

ให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กต่อไป


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความ

เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86

สรุปผลการวิจัย

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง

คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการ

จำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน

1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่า

เฉลี่ยสูงขึ้น

2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง

คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย

1. ควรมีการศึกษาการนำกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบอื่นมา

จัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ฯลฯ ที่แตกต่าง

กันไปตามรูปแบบการเรียนรู้ เช่น ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบ

ศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา เพื่อศึกษาความแตกต่าง

2. ควรมีการนำรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิด

สร้างสรรค์ของเด็กหญิงและเด็กชาย เพื่อหาความแตกต่างในการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะแบบ

เดียวกัน

3. ควรมีการศึกษาความแตกต่างในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ระหว่างสื่อของจริง

และสื่อจำลอง และเปรียบเทียบความภูมิใจของเด็กในตนเองของเด็กปฐมวัยในการทำศิลปะ

เพื่อการเรียนรู้

4. ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แต่ละรูปแบบว่าแบบใด

พัฒนาทักษะได้มากกว่ากัน

5. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แบบกลุ่มและราย

บุคคลว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น