วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 3


- อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วหันโต๊ะเข้าหากัน

- เมื่อแบ่งกลุ่มลงตัวแล้ว อาจารย์ให้ตัวแทนกลุ่มลุก 1 คน แล้วให้เปลี่ยนไปอยู่กลุ่มอื่่น

และให้ตัวแทนกลุ่มคนที่ 2 เปลี่ยนกลุ่ม โดยที่ให้ไปอยู่กลุ่มเพื่อนที่เราไม่สนิทกัน

- ในการแบ่งกลุ่มครั้งเพื่อให้นักศึกษาได้เปิดโลกทัศน์การทำงานกับเพื่อนในกลุ่มใหม่บ้าง

- อาจารย์ให้ทุกคนนำงานที่มอบหมายเมื่อสัปดาห์ก่อนขึ้นมา แล้วแชร์ความหมายในแต่

ละหัวข้อที่อาจารย์มอบหมายไว้ และปรับเปลี่ยนรูปแบบเรียงลำดับให้ดีกว่าเดิมและถูกต้อง


สมาชิกกลุ่ม วันศุกร์บ่ายเวลา 14.10-17.30

วันที่16 พฤศจิกายน 2555

1.นางสาวปิยะภรณ์   วรรณวงษ์

2.นางสาวชนนิภา     วัฒนภาเกษม

3.นางสาวนิษฐิดา     นิลมาลี


1.ความหมายคณิตศาสตร์

        คณิตศาสตร์เป็นความรู้แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนต่าง ๆ

มากมายในการหาข้อสรุปหรือกฎและทฤษฎีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์

หรือสังคมศาสตร์ และช่วยให้ผู้ศึกษารู้จักคิดอย่างมีระบบและเหตุผล เพื่อให้นำไป

วิเคราะห์สภาพการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ฃ

( คณิตศาสตร์ ค.0430ป.4 ),( วิจิตรตรา อุปการนิติเกษตร , หลักคณิตศาสตร์ , หน้า 1 )



2.จุดประสงค์ในการสอนคณิตศาสตร์


        การสอนคณิตศาสตร์ในช่วงเด็กปฐมวัยจะมุ่งเน้นให้เด็กสนใจที่จะเรียนคณิตศาสตร์

เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต มีเหตุผล

และละเอียดรรอบคอบ โดยให้เด็กเรียนรู้ประสบการณ์ตรงโดยการปฏิบัติกับอุปกรณ์

และเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะมีทักษะกระบวนการทางความคิด เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ

ในการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ

( เพ็ญจันทร์ เรือนประเสริฐ , คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย , 2542 )

( ความคิดเชิงวิเคราะห์ , 2538 ) 

( รวีวรรณ พวงจิต , หนังสือชุดเอนกประสงค์คณิตศาสตร์ป.4 )


3.หลักการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎี

1.ทฤษฎีการใช้ประสาทสัมผัส เน้นเรื่องสตปัญญาโดยให้เด็กปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

และปรับตัวให่เข้ากับสิ่งแวดล้อม

2.ทฤษฎีแห่งการฝึกฝน เน้นการทำสิ่งนั้นซ้ำ ๆ ก็จะมีความชำนาญขึ้นเอง

3.ทฤษฎีการเรียนรู้ ควรมีบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด มีอิสระในการทำกิจกรรมที่หลากหลาย

4.ทฤษฎีแห่งความหมาย ให้เห็นโครงสร้างของคณิตศาสตร์

( วิธีและเทคนิคในการสอนคณิตศาสคร์ , สุวัฒนา เอี่อมอมพัน )

( คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย , นิตยา ประพฤกิจ , 2541 ) 


4.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

- การนับ                            - ตัวเลข                 - การจับคู่                 - การจัดประเภท

- การเปรียบเทียบ              - การจัดลำดับ        - รูปทรงและเนื้อที่    - การอนุรักษ์

-การวัด                              - เซด                      - เศษส่วน                 - การทำตามแบบ        
                     
( คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย , นิตยา ประพฤติกิจ , 2541 , หน้า 17-19 )


5.หลักการสอนคณิตศาสตร์

1.ตั้งคำถามให้ผู่เรียนเกิดความคิดและเกิดการค้นพบหลักเกณฑ์ในการคิดได้ตนเองโดย

การสอนง่ายไปยาก

( ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์ , หน้า 9 , Max A Sobel , 2544 ,510.7 )

2.เริ่มจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม

3.ให้เด็กได้ค้นคว้าได้ด้วยตนเองและหัดตัดสินใจ

4.จัดกิจกรรมให้เกิดการสนุกสนาน

5.จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่า

( การจัดประสบการณ์เพื่อสร้างมโนทางคณิตศาสตร์ , บุญเยี่ยม จิตรดอน , 2535 , 14-18 )


ภาพกิจกิจกรรมการทำงานในห้องเรียน








- เพื่อน ๆ บางกลุ่มเริ่มทยอยส่งงาน โดยให้แม็กงานเดียวรวมกัน และส่งงานกลุ่มแยกออก

- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มอ่านความหมายในแต่ละหัวข้อที่ร่วมกันสรุปให้เพื่อน ๆ ในห้องฟัง

- อาจารย์เปิดรายชื่อนักศึกษาที่ต้องซ้อมการเข้าอบรมบุคลิกภาพในวันที่ 28 พฤศจิกายน

และชี้แจงให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมของคณะและมหาลัยทุกครั้ง

- เมื่ออ่านและส่งครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษาและตรวจเครื่องแต่ง


สื่อทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาพสัมพันธ์สร้างสรรค์




สรุป

           คณิตเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและใช้ในชีวิตประวัน ซึ่งจะช่วยให้เด็กนั้นมีพัฒนาการทาง

ด้านสติปัญญา คือ การให้เด็กนั้นได้รับจากประสบการณ์โดยตรง โดยการปฏิบัติกับอุปกรณ์

หรือแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะทำให้เด็กนั้นเกิดความคิดรวบยอด เป็นเด็กช่างสังเกต กล้าแสดง

ออกในการมีส่วนร่วมทำกิจกรรม มีเหตุผล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น