วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 7


- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษา

- อาจารย์พูดถึงเรื่่องมาตราฐานคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย เกณฑ์ คุณภาพ ตัวชี้วัด

และการยอมรับ เป็นต้น

ความหมายของ สสวท.

           สสวท. คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.มีหน้าที่หลัก คือ ทำให้

การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของนักเรียนไทยได้มาตรฐาน ให้ครูสามารถ

สอนนักเรียนให้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่สอนได้ รับผิดชอบระบบการศึกษาทุกระดับครอบคลุมทั่วประเทศ 

พร้อมทั้งยังสามารถเรียนรู้ผ่านการออนไลน์ โดยมีห้องสมุดออนไลน์ มีความรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน

             กรอบของคณิตศาสตร์  สสวท ได้จัดให้มีการเปิดตัวกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ปฐมวัยในทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับว่า การเรียนรู้ในช่วงชีวิต  0-6 ขวบ นั้นจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง 

มนุษย์แต่ละคนจะโตขึ้นเป็นคนอย่างไรขึ้นอยู่กับช่วงวัยนี้ เพราะเซลล์สมองจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราจึง

ให้ความสำคัญต่อเด็กในวัยนี้  “ คุณภาพของครูเป็นเรื่องที่สำคัญ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู  ต้องมี

โอกาสก้าวหน้า และมีแรงจูงใจให้แก่ครู  หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลง คือ 70-30  เปอร์เซ็นต์ระหว่างเล่นและเรียน 

 เด็กปฐมวัยต้องเน้นที่การเล่นมากกว่า ที่สำคัญการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวง ศึกษาธิการอย่างเดียว 

แต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้ปกครอง และทุกส่วนในสังคม 


-  อาจารย์ได้พูดถึงพัฒนาการและการประเมินเพื่อให้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้สอดคล้องได้อย่างไร

-  พอสอนได้สักพักมีโทรศัพท์เข้า อาจารย์มีประชุมด่วนจึงทำให้ต้องยกเลิกการสอน โดยอาจารย์ได้ให้การบ้าน

ไว้และอธิบายให้เข้าใจอย่างละเอียด

-  การบ้านคือ ให้ไปตัดกระดาษขนาด 2 4 6 (3 ขนาด เพื่อทำการทำกิจกรรมในคาบต่อไป) ซึ่งตอนนี้ได้ยกเลิก

แล้ว เพราะ อาจารย์ให้ทำงานอันเก่า(วาดรูปสื่อ) ให้เสร็จก่อนโดยส่งทางเมล์ให้อาจารย์เพื่อความสะดวก 

และประหยัดเวลา







วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 6


- อาจารย์เช็คชื่อและให้นักศึกษาส่งงาน

- อาจารย์ให้จับกลุ่มละ 11 คน และให้นักศึกษานำกล่องที่เตรียมมาต่อเป็นรูปอะไรก็ได้

และอาจารย์ก็แจกกาวสองหน้า โดยกลุ่มที่ 1 สารถหาลือพูดคุยกันได้และช่วยกันต่อ

หรือแก้ไขชิ้นงาน กลุ่มที่ 2 ห้ามพูดคุยกันขนาดทำกิจกรรม กลุ่มที่ 3 พูดคุยกันได้แต่ต้อง

นำกล่องมาต่อที่ละคน

- กลุ่มที่ 1 ต่อเป็นรูปหุ่นยนต์

- กลุ่มที่ 2 ต่อเป็นรูปบ้าน

- กลุ่มที่ 3 ต่อเป็นรูปชานชลารถไฟ

- อาจารย์ให้ช่วยกันคิดอุปกรณ์ที่สามารถนำมาทำสื่อคณิตศาสตร์ได้

1.เปลือกหอย

2.กล่อง

3กล่องนม

4.กระดาษ

5.ไม้ไอศกรีม

6.ขวด

7.กระดุม

8.ปฏิทิน

9.ถ้วยปีโป้

10.ฝาขวด ( อุปกรณ์ที่ถูกเลือก )

11.ไม้เสีบยลูกชิ้น

12.เปลือกลูกอม

- เพื่อน ๆ ช่วยกันสรุปจนตกลงว่าจะนำฝาขวดมาทำสื่อการสอน


ตัวอย่างสื่อการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ฝาขวดน้ำของกลุ่มที่่ 1




- อาจารย์ให้แพลนงานมาให้ดูก่อนแล้วค่อยลงมือทำในห้องเรียนกับสมาชิกกลุ่ม

- อาจารย์ตรวจเครื่องแต่งกายนักศึกษาและเลิกเรียน


ภาพการทำกิจกรรมในห้องเรียน





กลุ่มเราตั้งใจทำหุ่นยนต์กันอย่างตั้งหน้าตั้งตา




เริ่มเป็นรูปเป็นร่างซะทีนะหุ่นยนต์




สำเร็จแล้วหุ่นยนต์ของเรา




ถ่ายรูปกับความสำเร็จสักหน่อย




บรรยากาศการทำกิจกรรมของกลุ่ม 2




บรรยาการการทำกิจกรรมของกลุ่ม 3



เมื่่อทุกกลุ่มทำเสร็จอาจารย์ก็เริ่มบอกถึงการให้ทำกิจกรรมในครั้งนี้


การเข้าเรียนครั้งที่ 5


- อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษาที่มาเรียนตรงต่อเวลา

- อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรมวันพ่อโดยให้นักศึกษานำเสื้อเหลืองมาเต้นแอโรบิค

ในวันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2555

- อาจารย์อธิบายขอบขายคณิตศาสตร์ของ อาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ


1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย

 เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น

2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว

 กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม

3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ 

อยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง 

หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า

 รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาว

ไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยัง

ต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า 

ความลึกตื้นกว้างและแคบ

8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการ

ประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน

9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า

ถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็ก

ประจำชั้น เป็นต้น

10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดย

เน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอด

เกี่ยวกับครึ่งหรือ ?

11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนก

ด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์

12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง 

โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคง

ที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม


- ขอบข่ายคณิตศาสตร์ของ อาจารย์เยาวภา เดชะคุปต์

1.การจัดกลุ่มหรือเซต

2.จำนวน

3.ระบบจำนวน

4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ

5.คุณสมบัติจากคณิตศาสตร์จากการจัดรวมกลุ่ม

6.ลำดับที่สำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์

7.การวัด

8.รูปทรงเรขาคณิต

9.สถิติและกราฟ

- อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน โดยนำขอบข่ายคณิตศาสตร์ของอาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ

ทั้ง 12 ข้อ มาทำกิจกรรมโดยให้เราคิดหน่วยเรียนขึ้นเอง

- อาจารย์ให้นำกล่องกระดาษมาในวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2555

- อาจารย์ตรวจเครื่องแบบนักศึกษาและเลิกเรียน







วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2555  ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากทางคณะศึกษาศาสตร์

ได้จัดกิจกรรมกีฬาสัมพันธ์ชาวคณะศึกษาศาสตร์  ซึ่งสมาชิกปี 2 สาขาปฐมวัยอยู่สีส้ม  และ

ฉันก็มีหน้าที่เป็นกองเชียร์  ซึ่งในวันนั้นสีส้มชนะการแข่งขันหลายหลายการ แต่มีรายการใหญ่ ๆ

ที่ทุกคณะสีหวังไว้ก็ คือ

1.การแข่งขันกีฬาทุกประเภทถ้วยรวม  สีส้มได้รางวัลชนะเลิศ

2.การแข่งขันกองเชียร์  สีส้มได้รางวัลชนะเลิศ

3.การแข่งขันขบวนพาเหรด  สีส้มได้รางวัลชนะเลิศ

4.การแข่งขันประกวดผู้นำเชียร์  สีส้มได้รางวัลรองชนะเลิศลำดับสอง


ประโยชน์การจัดกิจกรรม

1. เพื่อพัฒนาด้านสุขภาพ (Health Development)

ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง

2. เพื่อพัฒนาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relationship)

ก่อให้เกิดความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวกันในหมู่คณะส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ช่วยให้บุคคลได้แสดงออกและละลายพฤติกรรมของกลุ่ม สร้างเสริมคุณค่าทางสังคม

 ฝึกการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กิจกรรมเกมกีฬา และกีฬาเพื่อการแข่งขัน และการอยู่ค่ายพักแรมช่วย

ฝึกการทำงานเป็นหมู่คณะ ลดความเห็นแก่ตัว เสริมสร้างความสามัคคี และความเข้าใจอันดีในหมู่คณะ

3. เพื่อพัฒนาการเป็นพลเมืองดี (Civic Development)

ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ลดปัญหาการประพฤติผิดศีลธรรม หรือปัญหาอาชญากรรม โดยการรู้จักใช้

เวลาให้เกิดประโยชน์ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความสนิทสนมขณะ

ทำงาน ด้วยกัน ทำให้เพิ่มคุณธรรมแก่บุคคลผู้ร่วมกันทำกิจกรรมนั้น ๆ  ได้เรียนรู้ในเรื่องของหน้าที่ความ

รับผิดชอบ คุณค่าทางสังคมเสรีประชาธิปไตย ลดความเห็นแก่ตัว สร้างคุณค่าจริยธรรมความมีน้ำใจ 

การให้บริการ รู้จักอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมของความเป็น พลเมืองดีของประชาชาติ

4. เพื่อพัฒนาตนเอง (Self Development)

ประโยชน์ต่อตนเอง ทำให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ พักผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล ทำให้

บุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือประกอบการงานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น  พัฒนาอารมณ์ รวมทั้ง

ความสุข สนุกสนาน และความสุขสงบ ลดความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้อารมณ์แจ่มใสและช่วยส่งเสริม

ให้รู้จักการพัฒนาการ ควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย


ภาพกิจกรรม


































การแสดงปิดงานกีฬาสัมพันธ์คณะศึกษาศาสตร์








วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 3


- อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วหันโต๊ะเข้าหากัน

- เมื่อแบ่งกลุ่มลงตัวแล้ว อาจารย์ให้ตัวแทนกลุ่มลุก 1 คน แล้วให้เปลี่ยนไปอยู่กลุ่มอื่่น

และให้ตัวแทนกลุ่มคนที่ 2 เปลี่ยนกลุ่ม โดยที่ให้ไปอยู่กลุ่มเพื่อนที่เราไม่สนิทกัน

- ในการแบ่งกลุ่มครั้งเพื่อให้นักศึกษาได้เปิดโลกทัศน์การทำงานกับเพื่อนในกลุ่มใหม่บ้าง

- อาจารย์ให้ทุกคนนำงานที่มอบหมายเมื่อสัปดาห์ก่อนขึ้นมา แล้วแชร์ความหมายในแต่

ละหัวข้อที่อาจารย์มอบหมายไว้ และปรับเปลี่ยนรูปแบบเรียงลำดับให้ดีกว่าเดิมและถูกต้อง


สมาชิกกลุ่ม วันศุกร์บ่ายเวลา 14.10-17.30

วันที่16 พฤศจิกายน 2555

1.นางสาวปิยะภรณ์   วรรณวงษ์

2.นางสาวชนนิภา     วัฒนภาเกษม

3.นางสาวนิษฐิดา     นิลมาลี


1.ความหมายคณิตศาสตร์

        คณิตศาสตร์เป็นความรู้แขนงหนึ่งที่มีความสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนต่าง ๆ

มากมายในการหาข้อสรุปหรือกฎและทฤษฎีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์

หรือสังคมศาสตร์ และช่วยให้ผู้ศึกษารู้จักคิดอย่างมีระบบและเหตุผล เพื่อให้นำไป

วิเคราะห์สภาพการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ฃ

( คณิตศาสตร์ ค.0430ป.4 ),( วิจิตรตรา อุปการนิติเกษตร , หลักคณิตศาสตร์ , หน้า 1 )



2.จุดประสงค์ในการสอนคณิตศาสตร์


        การสอนคณิตศาสตร์ในช่วงเด็กปฐมวัยจะมุ่งเน้นให้เด็กสนใจที่จะเรียนคณิตศาสตร์

เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต มีเหตุผล

และละเอียดรรอบคอบ โดยให้เด็กเรียนรู้ประสบการณ์ตรงโดยการปฏิบัติกับอุปกรณ์

และเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะมีทักษะกระบวนการทางความคิด เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ

ในการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ

( เพ็ญจันทร์ เรือนประเสริฐ , คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย , 2542 )

( ความคิดเชิงวิเคราะห์ , 2538 ) 

( รวีวรรณ พวงจิต , หนังสือชุดเอนกประสงค์คณิตศาสตร์ป.4 )


3.หลักการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎี

1.ทฤษฎีการใช้ประสาทสัมผัส เน้นเรื่องสตปัญญาโดยให้เด็กปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

และปรับตัวให่เข้ากับสิ่งแวดล้อม

2.ทฤษฎีแห่งการฝึกฝน เน้นการทำสิ่งนั้นซ้ำ ๆ ก็จะมีความชำนาญขึ้นเอง

3.ทฤษฎีการเรียนรู้ ควรมีบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด มีอิสระในการทำกิจกรรมที่หลากหลาย

4.ทฤษฎีแห่งความหมาย ให้เห็นโครงสร้างของคณิตศาสตร์

( วิธีและเทคนิคในการสอนคณิตศาสคร์ , สุวัฒนา เอี่อมอมพัน )

( คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย , นิตยา ประพฤกิจ , 2541 ) 


4.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์

- การนับ                            - ตัวเลข                 - การจับคู่                 - การจัดประเภท

- การเปรียบเทียบ              - การจัดลำดับ        - รูปทรงและเนื้อที่    - การอนุรักษ์

-การวัด                              - เซด                      - เศษส่วน                 - การทำตามแบบ        
                     
( คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย , นิตยา ประพฤติกิจ , 2541 , หน้า 17-19 )


5.หลักการสอนคณิตศาสตร์

1.ตั้งคำถามให้ผู่เรียนเกิดความคิดและเกิดการค้นพบหลักเกณฑ์ในการคิดได้ตนเองโดย

การสอนง่ายไปยาก

( ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์ , หน้า 9 , Max A Sobel , 2544 ,510.7 )

2.เริ่มจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม

3.ให้เด็กได้ค้นคว้าได้ด้วยตนเองและหัดตัดสินใจ

4.จัดกิจกรรมให้เกิดการสนุกสนาน

5.จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่า

( การจัดประสบการณ์เพื่อสร้างมโนทางคณิตศาสตร์ , บุญเยี่ยม จิตรดอน , 2535 , 14-18 )


ภาพกิจกิจกรรมการทำงานในห้องเรียน








- เพื่อน ๆ บางกลุ่มเริ่มทยอยส่งงาน โดยให้แม็กงานเดียวรวมกัน และส่งงานกลุ่มแยกออก

- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มอ่านความหมายในแต่ละหัวข้อที่ร่วมกันสรุปให้เพื่อน ๆ ในห้องฟัง

- อาจารย์เปิดรายชื่อนักศึกษาที่ต้องซ้อมการเข้าอบรมบุคลิกภาพในวันที่ 28 พฤศจิกายน

และชี้แจงให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมของคณะและมหาลัยทุกครั้ง

- เมื่ออ่านและส่งครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษาและตรวจเครื่องแต่ง


สื่อทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาพสัมพันธ์สร้างสรรค์




สรุป

           คณิตเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและใช้ในชีวิตประวัน ซึ่งจะช่วยให้เด็กนั้นมีพัฒนาการทาง

ด้านสติปัญญา คือ การให้เด็กนั้นได้รับจากประสบการณ์โดยตรง โดยการปฏิบัติกับอุปกรณ์

หรือแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะทำให้เด็กนั้นเกิดความคิดรวบยอด เป็นเด็กช่างสังเกต กล้าแสดง

ออกในการมีส่วนร่วมทำกิจกรรม มีเหตุผล





วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 2


- อาจารย์ให้นักศึกษาลิ้งบล็อก

- อาจารย์ให้นักศึกษาเช็คชื่่อ

- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วให้เขียนคำว่าคณิตศาสตร์และประสบการณ์เป็น

  ภาษาอังกฤษ

 - อาจารย์อธิบายถึงทฤษฎีของเพียเจท์  การพัฒนาการทางสติปัญญาโดยการใช้ประสาท

   สัมผัสทั้ง 5


งานที่อาจารย์มอบหมาย


- อาจารย์ให้สำรวจหนังสือคณิตศาสตร์ที่ห้องสมุดเท่าที่จะหาได้

- อาจารย์ให้หาความหมายของคณิตศาสตร์ โดยต้องอ้างอิง ชื่อหนังสือ เลขหน้า ชื่อผู้แต่ง

- จุดมุ่งหมายของหนังสือ

- การสอนหรือการจัดประสบการณ์ ( ทฤษฎี )

- ขอบข่าย

- หลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์

 * ส่งงานในวันศุุกร์ที่่ 16 พฤศจิกายน 2555





สรุป

                   เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็นทางหู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง

 การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน

ปฐมวัย และจากกิจกรรมที่ได้รับชมนี้จะเห็นได้ว่าเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการทำกิจกรรมผ่านสื่อวัสดุ

ที่ครูได้จัดเตรียมไว้ เด็กมีการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู สามารถช่วยส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในเรื่องของ

สังคมการใช้ภาษาในการสื่อสารต่างๆ การเรียนรู้กฎกติกาในการทำกิจกรรม และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม





วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การเข้าเรียนครั้งที่ 1


- เช็คชื่อนักศึกษาเวลา 14.10 น.

- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น

- สร้างข้อตกตกลงในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กฏกติการ มารยาท

การแต่งตัว การเข้าเรียนในชั้นเรียน

- สร้างข้อตกลงการทำบล็อก และอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ในการทำ

- อาจารย์ตั้งคำถามเปรียบเทียบว่าวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาและการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

แตกต่างกันอย่างไร

- อาจารย์ให้คำแนะนำว่าการเข้าเรียนต้องมีสมุดโน้ตทุกครั้งในการเข้าเรียน

- อาจารย์ให้เขียนว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร มา 2 ประโยค ( อธิบาย )

- อาจารย์ให้เขียนการคาดหวังหรือประสบการณ์ในเรื่องอะไรในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

สำหรับเด็กปฐมวัย


    

ทฤษฎีเพียเจต์

             เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือ

กระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่ง

แวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไป

ตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจาก

พัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริม

พัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่าง

รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่า

การกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับ

ระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 


1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) แรกเกิด-2 ปี

2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) 2-4 ปี และ 2-6 ปี

3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) 4-6 ปี


การพัฒนาการทักษะทางด้านคณิตศาสตร์





สรุป

               เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็ก โดยใช้การเล่นเป็นฐาน ซึ่งเน้นกระบวนการทาง

คณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

เป็นการพัฒนาทักษะของเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมตามวัย ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ทักษะคณิตศาสตร์ขั้นสูง

ต่อไปได้ รวมทั้งทักษะด้านอื่น ๆ ด้วย